1.6.58

อันตรายที่มาพร้อมกับยาลดน้ำหนักแต่ละประเภท

ในปัจจุบัน ภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วนเป็นปัญหาที่พบมากขึ้น และเป็นปัญหาที่ต้องได้
รับการแก้ไขอย่างเร็วที่สุด เนื่องจากคนที่มีน้ำหนักเกินนั้น จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่นๆตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง แต่ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยความรีบเร่ง ไม่มีเวลาออกกำลังกาย และละเลยที่จะเลือกรับประทานอาหารแคลอรี่ต่ำ การใช้ยาลดความอ้วน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้เป็นตัวช่วยในการลดความอ้วน แต่ในปัจจุบัน มียาลดความอ้วนกลุ่มใหม่ๆผลิตออกมามากมาย และส่วนมาก ก็ยังไม่ได้มีการรับรองความปลอดภัย ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังในการเลือกใช้เป็นพิเศษ

ชนิดของยาลดความอ้วนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย มีหลากหลายชนิด แต่ที่สามารถพบเจอได้บ่อยในท้องตลาด สามารถแบ่งประเภทตามการออกฤทธิ์ได้ดังนี้


1. ยาระบาย มีผู้ผลิตหลายราย นำยาระบายมาเป็นส่วนผสมในการผลิตยาลดความอ้วน เนื่องจากยาระบายจะกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้บีบตัว ทำให้ถ่ายมากหรือบ่อยขึ้น ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าน้ำหนักลดลง แต่แท้จริงแล้วน้ำหนักที่ลดลงไปนั้นคือน้ำหนักของกากอาหาร หรืออุจจาระที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ ไม่ใช่น้ำหนักของไขมันแต่อย่างใด  การใช้ยาระบายบ่อยๆ นอกจากจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่แล้ว เมื่อใช้ติดต่อกันนาน ๆ อาจเกิดอาการช็อคเนื่องจากร่างกายขาดน้ำกะทันหันได้



2. ยาลดความอยากอาหาร ยาชนิดนี้จะไปกดสมอง ทำให้ประสาทส่วนที่รับความรู้สึกหิวไม่ทำงาน ผลข้างเคียงจากยากลุ่มนี้ เช่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ ปากแห้ง ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก บางรายอาจมีอาการสับสน ประสาทหลอน ก้าวร้าว หัวใจเต้นผิดปกติ หรือถึงขั้น ชัก หมดสติ หากทานยากลุ่มนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเกิดภาวะพึ่งยา ทำให้ต้องทานยาบ่อยๆ เพราะรู้สึกว่าขาดยาไม่ได้  และหากหยุดยาอย่างทันทีทันใดก็อาจเกิดภาวะถอนยา โดยอาจเกิดภาวะทางจิตอย่างเฉียบพลัน สับสน หวาดระแวง และประสาทหลอน เป็นต้น

โดยยาชนิดนี้มักจัดมาให้คู่กับยาลดการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งใช้เพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากยาลดความอยากอาหาร เพราะการที่ร่างกายไม่ได้รับอาหารเป็นเวลานาน แต่ยังมีกรดหลั่งเพื่อย่อยอาหาร อาจเป็นเหตุให้เกิดโรคกระเพาะ จึงให้ยานี้เพื่อลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมยาลดน้ำหนักบางชนิด จึงจัดมาเป็นชุดๆ และจะต้องทานพร้อมกัน ห้ามขาดตัวใดตัวหนึ่ง


3. ยาขับปัสสาวะ การใช้ยาขับปัสสาวะเพื่อขับน้ำออกจากร่างกาย จะมีผลให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วหลังการใช้ยา แต่น้ำหนักที่ลดลงก็คือน้ำหนักของน้ำในร่างกาย ไม่ใช่น้ำหนักของไขมัน ดังนั้นยาขับปัสสาวะจึงไม่มีผลใดๆในด้านการลดความอ้วนเลย  อีกทั้งการใช้ยาขับปัสสาวะยังมีผลทำให้ร่างกายอ่อนเพลียเนื่องจากเสียสมดุลจากการขาดเกลือแร่ เป็นยาที่ไม่สมควรนำมาใช้ในการลดน้ำหนักเป็นอย่างยิ่ง


4. ยาไทรอยด์ฮอร์โมน ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ เป็นยาที่ช่วยเพิ่มการ
เผาผลาญพลังงานในร่างกาย น้ำหนักจึงลดลงอย่างรวดเร็วหลังใช้ยา แต่น้ำหนักที่ลดลงเป็นน้ำหนักที่เกิดจากมวลรวมของร่างกาย ไม่ใช่น้ำหนักของไขมัน ดังนั้นยานี้จึงมีผลข้างเคียงสูงมาก และยังเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย ผลข้างเคียงของยา เช่น โมโหง่าย อุจจาระบ่อย ใจสั่น อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น


5. ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ โดยปกติแล้ว ยากลุ่มนี้จะใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูง และการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ จึงนิยมให้ยาชนิดนี้ร่วมกับยาชุด เนื่องจากยาจะลดอาการใจสั่นที่เกิดจากยาลดความอยากอาหาร ผลข้างเคียงของยา เช่น วิงเวียนศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หัวใจเต้นช้า เป็นลม เป็นต้น


6. ยานอนหลับ  เนื่องจากยาลดความอยากอาหารอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ดังนั้นจึงมีการจ่ายยานอนหลับร่วมกับยาชุดด้วย นอกจากจะช่วยรักษาอาการข้างเคียงจากยาชุดชนิดอื่นๆแล้ว ยานอนหลับจะทำให้เกิดอาการง่วงซึมทั้งวัน ทำให้ลดความหิวหรือความอยากอาหารลงได้  ยานอนหลับที่จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ใช้บ่อยๆอาจเกิดอาการข้างเคียง เช่น  หายใจไม่สะดวก ความดันต่ำ เกิดอาการดื้อยา นอนไม่หลับเมื่อไม่ได้ใช้ยา เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม วิธีที่ได้ผลดีที่สุดในการลดน้ำหนักนั้น จะต้องประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ยาลดความอ้วนสามารถนำมาใช้เพียงเพื่อเสริมวิธีการที่กล่าวมาเท่านั้น  การใช้ยาลดความอ้วนอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้น้ำหนักลดลงอย่างถาวรและปลอดภัยได้ การลดน้ำหนักให้ได้ผลจึงต้องมีการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมร่วมด้วย นอกจากนี้ยาลดความอ้วนบางชนิดยังก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงอย่างคาดไม่ถึง การใช้ยาลดความอ้วนให้ผลแค่เพียงในระยะสั้นเท่านั้น เมื่อเลิกใช้ยาก็จะมีโอกาสสูงในการกลับมาอ้วนเหมือนเดิม หรือที่เรียกว่า YoYo Effect ดังนั้นผู้ที่ต้องการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ทุกครั้ง


ขอแนะนำอาหารเสริม BALANCE D + S
ไม่มีสารกดประสาทส่วนกลาง ลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย
เน้นคัดสรรสารสกัดจากธรรมชาติ มีอย. ไม่โยโย่



www.balancedswm.com
home